วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศษอาหารจุลินทรีย์มหัศจรรย์ดับกลิ่น, ทําปุ๋ย,ชี้ช่องทางแก้จน



เมื่อพูดถึงเศษอาหาร โดยทั่วๆไปเรามักจะมองว่าเป็นของเหลือที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงถูกทิ้งไปกับขยะอื่นๆ เศษอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะจะเป็นภาระต่อสภาพแวดล้อมขึ้นทุกวัน การกินอาหารไม่ให้เหลือ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารน้ำหรือกับข้าว จึงเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง โดยทั่วๆไป เรามักจะรังเกียจเศษอาหารในครัวหรืออาหารเหลือทิ้งจากโต๊ะอาหาร เพราะเมื่อเกิดเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น เรากลัวว่าจะเป็นที่มาของเชื้อโรคต่างๆที่ทำให้เจ็บป่วยได้ อันนั้นก็มีความจริงอยู่ แต่ท่านทราบไหมว่า เศษอาหารที่เน่าเปื่อยนั้นเกิดจากสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่เราเรียกรวมๆ ว่า จุลินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย แบคทีเรีย รา ยีสต์ จุลสาหร่าย โปรโตซัว และอื่นๆ ที่มาย่อย หรือทำปฏิกิริยากับเศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

จุลินทรีย์นั้นมีทั้งในดิน ในน้ำ ในอากาศ ในอาหาร รวมทั้งในอวัยวะต่างๆของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์เราด้วย แต่จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ มีประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มีความสำคัญอันยิ่งใหญ่ต่อวงจรชีวิตในทุกสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างภาวะสมดุลให้ชีวิตในธรรมชาติ จนกล่าวได้ว่าการดำเนินชีวิตของสิ่งต่างๆบนโลกใบ นี้ขาดจุลินทรีย์ไม่ได้เลย ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆถึงวงจรชีวิตของสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ เช่น จุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเป็นอาหารของสัตว์เล็กๆ สัตว์เล็กๆเป็นอาหารของกุ้ง หอย ปู ปลา กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นอาหารของมนุษย์ ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ในน้ำบางชนิดจะทำหน้าที่กำจัดคราบน้ำมัน หรือของเสียที่ปล่อยทิ้งออกมาจากบ้านหรือโรงงาน ส่วนจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดิน มันจะช่วยย่อยสลายขยะ ซากสิ่งมีชีวิต และของเสียจากอุตสาหกรรมให้กลายเป็นผุยผง

จุลินทรีย์บางชนิดตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชได้ใช้จุลินทรีย์ บางชนิดใช้ในการกำจัดศัตรูพืช บางชนิดอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร ของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารประเภทหญ้าและฟางข้าวที่สัตว์กินเข้าไป สำหรับมนุษย์เอง ในชีวิตประจำวันเรามักได้ข่าวจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา ฯลฯ ในแง่ร้ายๆ บ่อยๆ จนไม่ได้พูดถึงประโยชน์จากจุลินทรีย์ตัวที่เป็นพระเอกซึ่งมีอยู่มากมายเช่นกัน อย่างที่หลายๆคนอาจคิดไม่ถึง ทั้งในด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมต่างๆ การแพทย์(ยาปฏิชีวนะ)และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มประเภทหมักดองนานาชนิดที่เรากินกันอยู่ อาทิเช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เต้าหู้ยี้ ถั่วเน่า แหนม เนยแข็ง แป้งข้าวหมาก ผักดอง ขนมปัง ปาท่องโก๋ วุ้นมะพร้าว น้ำส้มสายชู โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เบียร์ ไวน์ เป็นต้น เล่ามาถึงตรงนี้คิดว่าหลายคนคงมีความรู้สึกที่ดีกับจุลิน-ทรีย์ทั้งหลายกันมากขึ้น ว่าที่แท้ก็ใกล้ชิดกันมานานแล้วโดยไม่รู้

จะว่าไปแล้วตอนนี้ "จุลินทรีย์" ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ "กระแสธรรมชาติ" ที่กำลังได้รับความสนใจจากคนหลายๆ กลุ่ม และมีการพยายามที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเกษตรกรที่ไม่ต้องการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูก ซึ่งเมื่อหันมาใช้การหมักขยะจากเศษอาหารหรือเศษผักผลไม้ตามกระบวนการแล้ว และเมื่อนำเอาน้ำจุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักไปรดน้ำต้นไม้ ปรากฏว่าต้นไม้เจริญเติบโตแข็งแรง ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากจะเชิญชวนให้บรรดาเกษตรกรทั้งหลายที่ยังใช้สารเคมีกันอยู่ ได้ทดลองนำเอาวิธีการหมักน้ำจุลินทรีย์จากเศษพืชผักผลไม้ที่เหลือหรือเศษอาหารที่เรากินนำไปทดลองใช้กันดูบ้าง เพราะนอกจากจะประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยไปได้เยอะแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็ปลอดสารพิษ บริโภคปลอดภัย ขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว

สำหรับคนเมืองหรือคนกรุงเทพฯ อย่างเราๆท่านๆ ที่ไม่ได้ทำอาชีพเกี่ยวกับการเพาะปลูก ก็สามารถนำเอาน้ำจุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้เช่นกัน นั่นคือ นำน้ำจุลินทรีย์มาใช้กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องส้วม ท่อระบายน้ำ แก้ปัญหาส้วมเต็มเร็ว ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัยได้ผลชะงัดจริงๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่แพ้สารดับกลิ่นที่ทำมาจากสารเคมีใส่กลิ่นหอมชนิดต่างๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่าขยะที่หมักจากเศษผักผลไม้ล้วนๆ และขยะที่หมักจากอาหารเนื้อสัตว์หรือสารพัดขยะจากในครัว กลิ่นที่ออกมาก็จะแตกต่างกัน นั่นคือ ขยะจากสารพัดอาหาร กลิ่นจะฉุนรุนแรงแตกต่างจากผักผลไม้ทั้งนั้น เพราะในเนื้อสัตว์จะมีกรดยูเรียอยู่มาก การหมักขยะเพื่อให้ได้น้ำจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรหรือกำจัดกลิ่นนั้น ถ้าใครขยัน ใจเย็นพอ และรอคอยได้ก็น่าจะทดลองทำดูตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น จนถึงขั้นที่ต้องวางทิ้งไว้ตั้งแต่ ๓ เดือนเป็นต้นไป จึงจะนำเอาน้ำที่ได้มาใช้ประโยชน์ ก็น่าทดลองดู ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาและสนใจอยากทดลองใช้น้ำจุลินทรีย์ดูบ้าง ก็มีวิธีสำเร็จรูปอยู่เหมือนกัน นั่นคือ ไปซื้อหัวเชื้อที่เขาทำขาย แล้วมาหมักต่ออีกเพียงไม่กี่วันก็นำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการได้ หัวเชื้อที่ซื้อมาหรือจากที่เราลงมือหมักเอง เมื่อถึงกำหนดใช้การได้แล้ว ก็สามารถแบ่งเอาไว้เป็นหัวเชื้อขยายต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่รู้จบ น่าสนใจนะ

จุลินทรีย์ คืออะไร

จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำพวกแบคทีเรีย รา ยีสต์ จุลสาหร่าย โปรโตซัว เห็ด และไวรัส ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องจึงจะมองเห็น ในปี ค.ศ. ๑๖๗๗ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค ได้ประดิษฐ์คิดค้นกล้องจุลทรรศน์ขึ้นเป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก และนั่นทำให้มนุษย์เราได้รู้จักว่าบนโลกนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากพืชและสัตว์ จุลินทรีย์ที่มองเห็นเป็นครั้งแรก ได้แก่ โปรโตซัว สาหร่าย ยีสต์ และแบคทีเรีย จวบจนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๘๕๗ มนุษย์เราจึงได้เริ่มเรียนรู้ว่า จุลินทรีย์มีคุณและโทษอย่างไร เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ ศึกษาพบว่าจุลินทรีย์นี่แหละเป็นตัวการในกระบวนการหมักเหล้าองุ่นและกรดแลกติก ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ก็เป็นสาเหตุการเน่าเสียของเหล้าองุ่นด้วย จากการค้นพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ในครั้งนั้น ทำให้มีการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อมาอีกเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น มีการค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ (anthrax) โดยโรเบิร์ท ค๊อก ในปี ค.ศ. ๑๘๗๖ และมีการค้นพบแบคทีเรีย Rhizobium ที่มีประโยชน์ในด้านเกษตร โดย Beijerlnck ในปี ค.ศ. ๑๘๘๘ เป็นต้น

การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ

แบคทีเรีย ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการนำแบคทีเรียบางชนิดมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตหลายอย่าง อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร (ทำน้ำซีอิ้ว ถั่วเน่า เต้าหูยี้ น้ำส้มสายชู แหนม วุ้นมะพร้าว) อาหารนม (โยเกิร์ต นมเปรี้ยว) สารเคมี (แอลกอฮอล์) กรดอินทรีย์ (กรด อะซิติก กรดแลคติค) กรดอะมิโน (กรดกลูตามิค แอลไลซีน) เอนไซม์ (อมิเลส เซลลูเลส กลูโคส ไอโซเมอเรส) วิตามิน (วิตามินบี ๑๒) ยาปฏิชีวนะ (คานาไมซิน) ยาฆ่าลูกน้ำยุง การวิเคราะห์ทางจุลชีวะ (วิเคราะห์ยาปฏิชีวนะ วิเคราะห์วิตามินบี ๑๒) ด้านสิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน)

ยีสต์ มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น ด้านอาหาร (ทำน้ำซีอิ๊ว ยีสต์โปรตีน ขนมปังปอนด์) เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ (เบียร์ วิสกี้ ไวน์ สาโท) หัวเชื้อ (ลูกแป้ง) สารเคมี (แอลกอฮอล์) เอนไซม์ (อมิเลส อินเวอร์เทส) กรดอินทรีย์ (กรดซิตริก) สิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน)

รา ถึงแม้ว่าราจะมีบทบาทในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์ เช่น ทำลายอาหาร เสื้อผ้า สินค้าต่างๆ และเป็นจุลินทรีย์กลุ่มใหญ่ที่ก่อ ให้เกิดโรคกับมนุษย์ สัตว์ และทำลายพืชผลทางการเกษตร แต่ราก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน อาทิเช่น ทำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (สาโท) อาหาร (น้ำซีอิ๊ว) เอนไซม์ (อมิเลส กลูโคอมิเลส เซลลูเลส เพคติเนส) กรดอินทรีย์ (กรดแลกติก กรดซิตริก) กรดอะมิโน (กรดกลูตามิก) การวิเคราะห์ทางจุลชีวะ (ใช้ทดสอบสารโพลิเมอร์) ด้านสิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน กำจัดสีของกากน้ำตาล)

เห็ด เห็ดที่กินได้ จะมีเนื้ออ่อนนุ่มหรือกรอบกรุบน่ากิน มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ชนิดของเห็ดที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นการค้าก็คือ เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เท่าที่มีรายงานพบว่าในเมืองไทยเห็ดที่กินได้มีมากกว่า ๗๐ ชนิด สำหรับเห็ดมีพิษนั้นให้สังเกตว่าจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงเมื่อดอกบานเต็มที่

จุลสาหร่าย สาหร่ายที่เป็นที่รู้จักกันดี และนิยมนำมากินเป็นอาหาร ได้แก่ ไข่หินหรือดอกหิน ไข่น้ำ ผักไกหรือเทา ผักกูด และสาหร่ายไฟซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายอีกหลายชนิด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น เป็นอาหารเสริมสุขภาพ อาหารสัตว์ ปุ๋ยชีวภาพ และเคมีภัณฑ์


ประสบการณ์จริงของผู้ใช้จุลินทรีย์

คุณฝากฝน หมายยอดกลาง อาชีพเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

เคยไปที่ศูนย์คิวเซที่สระบุรี แต่ไม่ได้ทำจริงๆจังๆ เพราะตอนนั้นขายอาหาร ได้แต่ศึกษาเป็นข้อมูลและค้นคว้ามาเรื่อยๆ จนมาลงมือทำเกษตรจริงๆจังๆ เมื่อต้นปี ๒๕๓๗ เป็นเกษตรธรรมชาติ ใช้แต่ปุ๋ยคอก และเศษวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ของเราเองก็ประมาณ ๔๐ ไร่ค่ะปลูกผสมผสาน ทั้งไม้ป่าไม้ผลหลายชนิด จนมาใช้จุลินทรีย์จริงๆจังๆกับไม้ผล เมื่อปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ นี่เอง สังเกตว่าใช้กับผักได้ผลดี ต้นพืชโตเร็ว งอกงาม แข็งแรง ส่วนไม้ผลมันก็จัดสรร ดูแล เติบโตตามธรรมชาติอยู่แล้ว พอใช้จุลินทรีย์ก็แข็งแรงมากขึ้น ที่บ้านจะใช้จุลินทรีย์ในครัวเรือน ในเรื่องสุขภาพ และการเกษตร

วิธีทำจุลินทรีย์ที่ใช้ในการเกษตร ใช้ขบวนการหมักขยะ ๓ ส่วน (เศษอาหาร ผักสด ผลไม้สด ยกเว้นพลาสติก และกระดาษ) ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน อัตราส่วนถ้าเป็นกิโลกรัมก็ใช้อัตราส่วนเดียวกันหมดโดยน้ำหนัก ใช้เวลาหมักประมาณ ๓ เดือน โดยใส่ภาชนะพลาสติกเนื้อหนาชนิดดี ที่มีฝาปิด ใช้โอ่งปูนไม่ได้มันจะกัด เพราะในขบวนการหมักจะเกิดกรดน้ำส้ม พวกกรดอะซิตริก ที่กัดพวกปูน พวกดิน เวลาหมักให้วางในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด ในอาทิตย์แรกๆ ถ้าเปิดดูจะเห็นฝ้าขาวในถัง บางคนถ้ากะสัดส่วนผิดพลาด จะมีกลิ่นเหม็นตุๆ แต่ไม่เป็นไร เติมน้ำตาลเพิ่มอีกได้ แล้วปิดฝา พวกนี้จะไม่มีการเสีย เพราะเป็นการทำงานของจุลินทรีย์อยู่ตลอดเวลา
พอครบกำหนดก็กรองเอาน้ำนั้นออกมาใช้ น้ำที่ได้จะมีกลิ่นหอม สีน้ำตาลแดงๆ เวลาจะใช้รดต้นไม้ ใช้ผสมน้ำ ๑ ต่อ ๑๐ ลิตร ซึ่งควรจะรดน้ำตอนเช้าหรือตอนเย็นที่ยังไม่มีแสงแดด จุลินทรีย์ที่ได้ถ้าหมักไปนานๆจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น หมายถึง ๓ เดือนเอาออกมาใช้แล้วใส่ขวดทิ้งไว้ สำหรับส่วนที่เหลือจากการกรองเอามาใช้ ถ้า จะเพิ่มขยะก็ใช้สัดส่วนเดิมที่ให้ไว้ หรือไม่ก็โกยเอาขยะ เก่าออกมาแล้วไปใส่ต้นไม้ได้เลย ที่บ้านจะเอาไปใส่ไม้ผล ส่วนน้ำที่กรองเอามาตัวมันเองเก็บไว้ได้นาน ยิ่งนานยิ่งดี เพราะเกิดเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การใช้ในครัวเรือน ก็เอาน้ำที่ได้แล้วมาแยกกลิ่นให้หอมขึ้น โดยเอาน้ำมาหมักกับผลไม้ตระกูลส้ม แล้วใส่น้ำตาลเพิ่มไปอีก สัดส่วนน้ำจุลินทรีย์ที่หมักได้ ๑ ส่วนต่อน้ำตาล ๑ ส่วน น้ำอีก ๑๐ ส่วน แล้วเอาเปลือกผลไม้ตระกูลส้มใส่ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน ก็เอาไปใช้ขัดห้องน้ำ ขัดพื้น วิธีนี้ใช้มาตั้งแต่ครั้งแรกที่ทดลองทำ รู้สึก ได้ผลดี ส้วมก็เต็มช้า ไม่มีกลิ่น ขัดพื้นได้ทุกชนิด ทดลองมาแล้ว ถ้าเอามาใช้ในเรื่องสุขภาพ จะหมักด้วยน้ำผึ้ง จะเลือกผลไม้ที่ดีไร้สารพิษ พวกเสาวรส สตรอเบอรี ฝรั่ง มะเฟือง มะม่วง คือ ผลไม้อะไรก็ใช้ได้ทุกชนิด ถ้าเป็นกล้วย มะม่วง ต้องปอกเปลือกก่อน สัดส่วนที่หมัก ๑ : ๑ : ๑๐ ผลไม้ ๑ ส่วน น้ำผึ้ง ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน ภาชนะที่ใช้ควรเป็นขวดใส เพื่อจะได้ดูการทำงานของจุลินทรีย์ว่ามันมีปฏิกิริยาอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วถ้าจะให้มีประสิทธิภาพต้องหมักเป็นปี ตัวเองเพิ่งจะมาทดลองในเรื่องสุขภาพเมื่อต้นปีนี้เอง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้มีหลายอายุ ๓ เดือน ๑ ปีก็มี คือ จะได้หัวเชื้อมาจากที่อื่นอายุ ๓ ปี เอามาหมักต่ออีก ๓ เดือน เมื่อได้ที่แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใช้กินเป็นยา มันจะช่วยในเรื่องระบบการย่อยไม่ให้ท้องอืด แก๊สในท้องลดลง ช่วยในเรื่องกลิ่นปาก ใช้แปรงฟันได้ด้วย โดยเอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำแล้วมาแปรง ซึ่งรสชาติและกลิ่นจะแล้วแต่ผลไม้ที่เราใช้หมัก

กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ แก้ปัญหาส้วมเต็ม ด้วยน้ำหมักจากเศษอาหาร

หลายคนคงซาบซึ้งดีว่ากลิ่นเหม็นจากท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ เวลาที่มันโชยมาตามลมนั้น เหม็นขนาดไหน ซึ่งโดยปกติแล้ว คนทั่วไปมักจะซื้อน้ำยาดับกลิ่น(ที่เป็นสารเคมี) ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมาเทราดในโถส้วมหรือท่อน้ำทิ้ง ซึ่งก็สะดวกสบายง่ายดี กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ก็หมดไปได้ หรือหากมีปัญหาส้วมเต็ม ก็เรียกใช้บริการรถดูดส้วมสาธารณะได้ทั่วไป (เงินออกจากกระเป๋าไปอีกแล้ว) วันนี้เรามีวิธีกำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ท่อน้ำ หรือแก้ปัญหาส้วมเต็มด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติมาบอกเล่าให้ทดลองปฏิบัติกันดู นั่นคือการเทน้ำจุลินทรีย์ ที่ได้จากการหมัก(เศษอาหาร เศษผักผลไม้) ลงไปในโถส้วม หรือท่อน้ำทิ้งบ่อยๆ กลิ่นเหม็นก็จะหายไปเป็นปลิดทิ้ง ส้วมที่เต็มจะค่อยๆยุบตัวลง ที่ยังไม่เต็มก็จะไม่มีโอกาสเต็มเลย เพราะจุลินทรีย์ ตัวเก่งจะไปทำหน้าที่ย่อยสลายกากอาหาร(อุจจาระ) เศษกระดาษ หรือของเสียที่หมักหมมอยู่ในบ่อพักให้ย่อยสลายและเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวได้เร็วขึ้น

ที่น่าสังเกต คือ เวลาที่เราแก้ปัญหาห้องน้ำหรือท่อมีกลิ่นโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมี กลิ่นที่ไม่ต้องการอาจจะหายไปได้ แต่ว่าส้วมเต็มเร็วหรือตัน ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสารเคมีและผงขัดต่างๆ จะไปทำลายจุลินทรีย์ในธรรมชาติให้ตายหรืออ่อนแอลง ดังนั้นการที่จุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยย่อยของเสียต่างๆ จึงช้าและไม่ทันกับปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้น ท่อจึงตัน ส้วมจึงเต็มได้ง่าย เพราะฉะนั้น ถ้ายังใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำที่เป็นสารเคมีอยู่การใช้น้ำจุลินทรีย์เพื่อแก้ปัญหากลิ่นเหม็นหรือส้วมเต็ม จะต้องใช้บ่อยๆและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ในกรณีที่ไม่มีการใช้สารเคมีในห้องน้ำเลย การใช้น้ำจุลินทรีย์เพื่อกำจัดกลิ่นก็ไม่จำเป็นต้องใช้มากและบ่อยๆ นอกจากนั้น น้ำจุลินทรีย์ยังใช้ขัดทำความสะอาด ห้องน้ำได้อีกด้วย โดยใช้น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน ผสมน้ำ ๒ ส่วน ราดให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก ๕ นาที แล้วค่อยขัดถู ถ้าเป็นพื้นเซรามิกจะเงางาม ไม่ด่าง ไม่กัดมือกัดเท้า และไม่ต้องสูดกลิ่นสารเคมีอีกด้วย

สถานที่ขอคําแนะนําเพิ่มเติม

ถ้าหากทดลองหมักขยะดูด้วยตนเองแล้วเกิดปัญหาไม่ เป็นไปตามที่แนะนำเอาไว้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมทั้งซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ดังที่อยู่ต่อไปนี้

๑. สหกรณ์เลมอนฟาร์ม (จำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น)
๑๘๕ ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐๒-๙๓๔-๗๗๒๑-๓

๒. สหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อน
๗๐/๒๙๔ หมู่ที่ ๕ ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐ โทร. ๐๒-๓๗๙-๒๕๕๘ (สั่งซื้อ)

๓. บ้านสุขภาพ
๕๒๕/๓๙๓ หมู่บ้านพรสว่าง ซ. ๙ สุขุมวิท ๑๐๙ สำโรงเหนือ กรุงเทพฯ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔-๔๒๖๗, ๐๒-๗๕๔-๑๘๓๗,(๐๘๑) ๔๓๖-๗๕๑๗ (สอบถาม, สั่งซื้อ)

๔. ศูนย์เศรษฐกิจชุมชนบุญนิยม
๔๔๕/๑๕ ถนนรามคำแหง ๓๙ แขวงวังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐๒-๗๑๘-๔๕๒๗

๕. กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว
๑๔ หมู่ ๑๑ บ้านน้ำซับ ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ๓๐๓๗๐ โทร. (๐๘๑) ๙๖๖-๔๒๔๗ (สอบถาม)

๖. ศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติ
๙๐ หมู่ ๑ ต.ชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ๑๘๒๖๐ โทร. (๐๘๑) ๒๑๓-๙๓๘๗

๗. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
๑๑๔ หมู่ ๑ บ้านมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ราชบุรี โทร. (๐๘๑) ๖๑๘-๔๐๓๕

หน่วยงานใดที่ศึกษาหรือจำหน่ายหัวเชื้อจุลินทรีย์ เชิญส่งที่อยู่มาประชาสัมพันธ์ที่สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านได้ค่ะ



วิธีทำน้ำจุลินทรีย์ (สูตร ๑)

วัสดุที่เตรียม

๑. ผัก ผลไม้ หรือข้าวสุก
๒. น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล
๓. ภาชนะขนาดตามต้องการที่สามารถหาอะไรมาปิดได้
๔. น้ำ

วิธีทำ

๑. ล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาด แล้วหั่นเป็นท่อนๆตามต้องการ
๒. นำน้ำตาลทรายแดงมาคลุกเคล้าในอัตราส่วน ๑:๒ คือ ผักและผลไม้ ๒ ส่วน ใช้น้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน
๓. หมักไว้ ๗-๑๐ วัน แล้วเติมน้ำ ๑๐ ส่วน
๔. หมักอีก ๑ เดือน ก็ใช้ได้ แต่ ๓ เดือนจะใช้ได้ดี
๕. หมั่นดูทุก ๓-๕ วัน และคน จะทำให้ใช้ได้เร็ว
๖. ตักน้ำชุดแรกหมดแล้ว เติมน้ำอีก ๑๐ ส่วน น้ำตาลทรายแดงอีก ๑ ส่วน หมักไว้ ๗ วัน ใช้ได้

หมายเหตุ

สัดส่วน หากใช้เป็นกิโลกรัมให้เทียบเป็นกิโลกรัมทั้งหมด หากใช้เป็นกระป๋องหรือส่วนต้องใช้ให้เหมือนกันทั้งหมด
ถ้าใช้กากน้ำตาลจะมีกลิ่นน้ำตาลมาก และเป็นพิษต่อดิน กินไม่ได้
ใช้น้ำตาลทรายแดงจะมีผลดีกว่า แต่ราคาแพง
สูตรนี้เปลี่ยนแปลงได้ตามที่เห็นว่าจะเป็นผลดีกับสิ่งที่ตนทำ
ทำตามสูตรนี้จะเก็บได้นาน
น้ำจุลินทรีย์น้ำแรกสามารถต่อเชื้อได้ โดยใช้น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน น้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน น้ำ ๘ ส่วน หมักไว้ ๗ วันก็ใช้ได้
ถ้ามีหนอนก็ตักออก การมีหนอนมิใช่เสีย แสดงว่าใช้ได้แล้ว
หากมีปัญหาเขียนจดหมายถึง สมณะฟ้าไท พุทธสถานปฐมอโศก ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม ๗๓๐๐๐ หรือโทร. (๐๓๔) ๒๕๘-๔๗๐-๒





วิธีทำน้ำจุลินทรีย์ (สูตร ๒)

วัสดุที่เตรียม

๑. ขยะสด เศษผัก ผลไม้ เศษอาหาร (ประมาณ ๓ ส่วน)
๒. น้ำเปล่า (ประมาณ ๑๐ ส่วน)
๓. น้ำตาลทรายแดง (ประมาณ ๑ ส่วน)
๔. ถุงปุ๋ย สำหรับใส่เศษอาหาร
๕. ถังพลาสติกอย่างดีชนิดมีฝาปิด

วิธีทำ

นำน้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน ผสมลงในน้ำ ๑๐ ส่วน
นำเศษผัก ผลไม้ เศษอาหารใส่ลงในถุงปุ๋ย จากนั้นนำถุงปุ๋ยลงใส่ในถังที่ผสมน้ำไว้แล้ว โดยยังไม่ปิดปากถุงจนกว่าจะได้จำนวนขยะเท่าที่ต้องการ แต่กะให้มีเนื้อที่เหลือประมาณ ๑ ใน ๔
จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วหาก้อนหิน หรือ อะไรหนักๆทับไว้ แล้วปิดฝา
ถ้าสัดส่วนกะได้ถูกต้อง จะมีฝ้าขาวๆลอยอยู่ข้างบน กลิ่นออกเปรี้ยวๆเหมือนน้ำส้ม ถ้ากลิ่นไม่ดีหรือมีหนอน แสดงว่าน้ำตาลน้อยไป หรือขยะมีเชื้อโรค แต่ไม่เป็นไร ให้เติมน้ำตาลลงไปอีก แล้วขบวนการหมักก็จะค่อยๆเป็นไปตามขั้นตอนทิ้งไว้ ๖ เดือน หมั่นคอยเปิดฝาดูบ้าง
หมายเหตุ


ถ้าทำใช้ภายในบ้าน ควรหมักจุลินทรีย์จากผัก ผลไม้ กลิ่นจะดีกว่าเศษอาหาร
ถ้าหมักจากเศษอาหาร น้ำที่ได้จากการหมักควรเอาไว้รดต้นไม้





มารู้จักนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตกันดีกว่า
นมเปรี้ยวหรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า "โยเกิร์ต" นั้น เป็นผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่ง ซึ่งทำโดยการเติมเชื้อจุลินทรีย์ (ชนิดที่พบได้ตามปกติในทางเดินอาหารของคน) ลงไปในนมสด

โยเกิร์ตแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ โยเกิร์ตชนิดครีม และโยเกิร์ตชนิดพร้อมดื่ม

๑. โยเกิร์ตชนิดครีม (yoghurt) จะประกอบด้วย นมโค และเชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ต

๒. โยเกิร์ตพร้อมดื่ม (drinking yoghurt) จะประกอบด้วยนมโค น้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำผลไม้ และเชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ต

คุณค่าของโยเกิร์ตมาจากส่วนผสมที่เรียกว่า จุลินทรีย์โยเกิร์ต นั่นเอง เชื้อเหล่านี้เป็นเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ในโยเกิร์ตทั่วไป คือ แล็กโตบาซิลลัส บุลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) และสเตร็ปโตค็อกคัส เทอร์โมพิลัส (Streptococus thermophilus) ซึ่งเปลี่ยนน้ำตาลแล็กโทสในนมให้เป็นกรดแล็กติก อันมีผลให้นมมีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังพบว่า เชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ตยังสามารถอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้ ทำให้ภาวะภายในลำไส้ดี และป้องกันการติดเชื้อ โยเกิร์ตบางยี่ห้อ มีการเติมเชื้อบิฟิดัสลงไปด้วย ซึ่งเชื้อตัวนี้คือ บิฟิโดแบ็กทีเรียม บิฟิดัม (Bifidobacterium bifidum) ซึ่งปกติพบอยู่ในระบบทางเดินอาหารของทารก

ทำโยเกิร์ตกินเองได้ง่ายจัง
หลายคนอาจจะชอบกินโยเกิร์ต โดยที่ไม่รู้ว่าโยเกิร์ตที่กินนั้นผ่านกระบวนการโดยมีเชื้อจุลินทรีย์ตัวที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ คือ แบคทีเรียสายพันธุ์ต่างๆ เป็นตัวทำให้นมเปรี้ยว และจับตัวกันเป็นลิ่ม ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าวจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ถ้าหากใครอยากจะทำโยเกิร์ตกินเองภายในบ้าน ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย วิธีทำนั้นง่ายมาก แต่ว่าทำแล้วต้องมีคนช่วยกินด้วยหลายๆคนจึงจะสนุก หรือถ้าทำกินเองจนเกิดความชำนาญ ก็อาจจะพัฒนาไปเป็นอาชีพเสริมเล็กๆน้อยๆ โดยทำ โยเกิร์ตขายในหมู่เพื่อนๆคนสนิทก็ย่อมได้

วิธีทำ
นำนมสดยูเอชทียี่ห้อที่คุณชอบ(รสหวานก็ได้ รสจืดก็ได้) ขนาด ๑ ลิตร มาต้มด้วยไฟปานกลางจนเดือด แล้วยกลงจากเตา วางทิ้งไว้จนนมเย็น แล้วจึงใส่โยเกิร์ตรสธรรมชาติ(ไม่มีผลไม้อื่นๆผสม)ที่ซื้อมาจากร้านค้านั่นแหละลงไปคนกับนมสดให้เข้ากัน จากนั้นเทแบ่งใส่ภาชนะ (ถ้วย, แก้ว ฯลฯ) ที่มีฝาปิด วางทิ้งไว้นอกตู้เย็น ๑ คืน แล้วลองชิมดู ถ้าหากยังไม่เปรี้ยวถูกใจ ก็อาจวางทิ้งไว้อีกสักพักประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ได้ แล้วจึงค่อยนำเข้าตู้เย็น เวลาจะกินจึงใส่ผลไม้หรือธัญพืชที่ชอบลงไป โยเกิร์ตที่ทำนี้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ ๒-๓ วัน

สำหรับผู้ที่กินโยเกิร์ตเป็นประจำทุกวัน โยเกิร์ตที่ทำไว้นี้ ส่วนหนึ่งสามารถเก็บเอาไว้เป็นหัวเชื้อในครั้งต่อไปได้อีก และเมื่อทำใหม่โยเกิร์ตที่ได้ก็ทำเป็นหัวเชื้อได้ต่อไปเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่า ลงทุนซื้อโยเกิร์ตสำเร็จรูปเพียง ๑ ถ้วยในครั้งแรกแล้วไม่ต้องซื้ออีกเลย ยังไงๆทำกินเองก็ถูกสตางค์ดีกว่าซื้อเขากินแน่นอน

สุนทรภู่

สุนทรภู่



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com โพสต์โดย คุณนายรถซุง

ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

"สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ

"สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"

สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

ผลงานของสุนทรภู่

หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

ประเภทนิราศ

- นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

- นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

- นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

- นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

- นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

- นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา

- รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท

- นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

- นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน

เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ





พระอภัยมณี

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพร ไทย

กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก กิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายรูป เช่น ขอบใบเรียบ หรือหยักเว้า 3 หยัก ดอกสีชมพู ตรงกลางจะมีสีเข้มกว่ากลีบส่วนนอก เมื่อกลีบดอกร่วง ใบประดับและกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มผลไว้ภายใน มีเมล็ด ใช้ปลูก ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ใบประดับและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง รสเปรี้ยว ทำแยมหรือใช้เป็นสารแต่งสี ในเยลลี่ ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผัก ใช้แกงส้ม กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"ส้มพอเหมาะ" ใบประดับ กลีบเลี้ยงและใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ
กานพลู
การพลูเป็นไม้ต้นขนาดกลาง ใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ยอดอ่อนสีแดงเป็นมัน ใบส่องแดดจะเห็นจุดน้ำมันอยู่ทั่วไป ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกสีแดงอมชมพู เก็บดอกตูมขณะที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง และทำให้แห้งเก็บไว้ใช้ ปลูกโดยใช้ เมล็ด ขึ้นได้ดีในเมืองร้อนชอบอากาศร้อนและความชี้ นสูง
กานพลูแห้งเป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ช่วยขับลม ดอกกานพลูช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

ข่า
ลำต้นที่อยู่ในใต้ดินเรียกว่า เหง้า เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเนื้อ และมีกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดิน สูงได้ถึง 2 เมตร ใบสีเขียว ออกสลับข้างกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวนวล ด้าน ในของกลีบดอกมีประสีแดง ผลเปลือกแข็ง รูปร่างกลมรี
เหง้าข่า เป็นเครื่องเทศที่ใช้ชูรสอาหาร ใส่ในเครื่องแกงแทบทุกชนิด ใช้ปรุงต้มข่าไก่ ผัดเผ็ด ลาบ ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ใส่ในต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อดับกลิ่นคาวรสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวม ฟกซ้ำ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

ข้าวกล้อง
ข้าวกล้องเป็นพืชล้มลุก ขึ้นรวมเป็นกอ มี 5-15 ต้น ลำต้นมีข้อชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับกันรูปร่างแบนยาวเรียว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อใหญ่และยาว ขนาดและลักษณะรายละเอียดจะแตกต่างกันตามพันธุ์ของข้าว ปลูกโดยใช้เมล็ด และ ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ข้าวกล้องมีคุณค่าต่อร่างกายมากกว่าข้าวขาว ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ผ่านการกระเทาะเปลือกนอกออกคือส่วนที่เรียกว่า"แกลบ" ส่วนจมูกข้าวและเยื่อหุ้มข้าว(รำ) ยังคงอยู่ ส่วน นี้ทำให้ข้าวกล้องมีประโยชน์สูงกว่าข้าวขาวมาก มีเส้นใยช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดี ช่วย ป้องกันอาการท้องผูก และโรคอื่นๆได้

ขิง
ขิงเป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน เหง้าจะแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียวลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งตรงยาวราว 2-3 ศอก เกิดจากกาบใบมาเรียงซ้อนกันแน่นใบสีเขียวปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาว ดอกสีเหลืองอ่อน มีใบประดับเรียงซ้อนกันแน่น เป็นรูปกระบองโบราณ จะบานจากโคนไปหาส่วนปลาย ปลูกโดยใช้เหงา ชอบดินร่วนซุยและอากาศชุ่มชื้น ปลูกงามเป็นบางแห่ง
ขิงอ่อนปรุงเป็นอาหาร เช่น ไก่ผัดขิง ขิงยำ หรือใช้เป็นผักแกล้ม ส่วนขิงไม่แก่นักชงเป็นนำดื่ม ขิงแก่ใช้ต้มกับนำตาลใส่เต้าฮวย หรือใส่ในมันต้มนำตาลให้มีรสเผ็ด กลิ่นหอม รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน น้ำมันขิงเป็นยาขับลมที่ดี ช่วยไปกระตุ้นการบีบตัวของกระเพราะอาหารและลำ ใส้ อาการมีเสมหะ ฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าขนิ้นสีเหลืองเข้มจนถึงสีเหลืองจำปา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบคล้ายใบพุทธรักษา ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อมีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง ใบประดับสีเขียวอมชมพู ใช้เหง้าปลูกปลูกได้ทั่วไป
ขมิ้นชัน ใช้เป็นเครื่องปรุงรสและสารแต่งสี อาหารหลายอย่างใส่ขมิ้น ทำให้สีและกลิ่นชวนรับประทาน รสฝาดกลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ช่วยขับลม ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เจริญอาหาร เหง้าสดขมิ้นชันใช้เป็นยารักษาฝี แผลพุพอง และแก้อาการแพ้อักเสบ ใช้รักษาอาการ ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แน่นจุกเสียด และอาหารไม่ย่อย

ขี้เหล็ก
ขี้เหล็กเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยประมาณ 10 คู่ ใบเรียว ปลายใบมนหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียว ใต้ใบสีอ่อนกว่าด้านบน และมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนหนา ขี้เหล็กปลูกไม่ยาก ใช้เมล็ดปลูกได้ทุกภาคของประเทศ
ขี้เหล็ก ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็ก มีรสขม ต้องต้มเทน้ำทิ้งหลายๆครั้งก่อน จึงนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมใช้ทำแกงกะทิ หรือรับประทานเป็นผักจิ้ม ช่วยระบายท้องได้ดี ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับได้ ช่วยเจริญอาหาร สารอัลคาลอยด์ที่อยู่ในใบขี้เหล็กมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับได้ อาการท้องผูก อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร

ขลู่
ขลู่เป็นวัชพืชเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ยอดและใบอ่อนมีขนทั่วไป ใบกลมมน ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ สีขาวอมม่วง ปลูกโดยวิธี ปักชำหรือเมล็ด ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ขลู่ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

คำฝอย
ดอกคำฝอยเป็นพืชล้มลุกสูงราว 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม ก้านใบสั้น ใบรูปร่างเรียว ริมใบหยักแหลม เป็นหนาม เนื้อใบเรียบ ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อัดแน่นบน ฐานดอก รูปร่างกลมเหมือนกับดอกดาวเรือง ดอกย่อยสีเหลือง ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่เป็นสีส้มแดง เมล็ดสีขาว ใช้เมล็ดปลูก ปลูกได้ทางเหนือของประเทศไทย
ดอกคำฝอย เพิ่งเริ่มปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้ ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้าง หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว น้ำมันดอกคำฝอยช่วยลดคอ เรสเตอรอล

คูน
คูนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยนขาดใหญ่มี 3-8 คู่ รูปไข่ ปลายปลายแหลม ดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและกลิ่นหอมอ่อน ๆ ฝักกลมยาว เมื่อแก่จัดเป็นสีน้ำตาย ปลูกโดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง ปลูกได้ทั่วไป
คูน ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อในฝักแก่ รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณ เป็นยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวน ไม่ไซ้ท้อง

วันแม่วัน

วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อ จากวันอาทิตย์ แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
ประวัติ
ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวัน หยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์ แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานา ชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้ เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันเข้าพรรษา

 วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรง วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง วางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง