วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ต้นไผ่

ต้นไผ่ ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่รวก

ลักษณะ
ต้นไผ่เป็นที่ขึ้นเป็นกอ และมีข้อเป็นปล้องๆ ใบมีสีเขียวเล็กเรียวรีตรงยอดของไผ่ ลำต้นมีขนเล็กๆ สังเกตได้จากจะมีสีหม่นๆ ตรงลำต้น หากสัมผัสจะรู้สึกนวลๆ บางพันธุ์ก็รู้สึกเจ็บๆ คันๆ

การขยายพันธุ์
ต้นไผ่นิยมนำกิ่งนำกิ่งมาชำ ปลูกง่ายมากๆ

การดูแลรักษา
ดูแลเฉพาะช่วงแรกที่ หากลำต้นโตก็ไม่ต้องดุแลก็ได้ เก็บใช้ประโยชน์อย่างเดียว

ประโยชน์ของไผ่
คนไทยเราผูกพันกับไผ่มายาวนาน ไผ่ถูกใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับไผ่แล้วเป็นทั้งไม่ที่มีประโยชน์และไม่ที่เป็นมงคล เวลาจะสร้างสิ่งต่างๆ เราจะใช้ไผ่เป็นโครง และงานเครื่องใช้ในครัวของตนในยุคก่อนก็มีไผ่อยู่เกือบทุกอย่าง อย่างเช่นตระกล้า กระบุ้ง พัด ชั้นวางของ บ้าน เป็นต้น

สาระน่ารู้
ไผ่มีหลายชนิด การเลือกใช้ของคนในยุคก่อนก็ตามแต่จะใช้ เช่น ไผ่รวกมีความคม การทำคลอดของคนในยุคก่อนใช้ไผ่ตัดสายสะดือ ไผ่รวกใช้ในงานจักสาน ไผ่สีสุก นำมาประกอบในพิธีมงคลต่างๆ จะต้องมีไผ่สีสุกประกอบ นำมาจักสาน ไผ่บง ไผ่ซาง นำมาจักสาน และนำมาค้ำต้นไม้ และประโยชน์อีกมากมาย เพราะไผ่เป็นต้นไม้สาระพัดประโยชน์จริงๆ สำหรับเรื่องไผ่เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะเพิ่มเติมให้แล้วกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ




มะละกอ         ส้มตำมะละกอหลากสูตร ไม่ว่าจะเป็นตำไทย ตำไทยปู ตำปลาร้า ตำปูปลาร้า ตำซั่ว หรือแม้แต่ตำโคราชที่รวมเอาทุกอย่างเข้าด้วยกัน ล้วนอร่อยเด็ดแถมยังหามารับประทานได้ง่าย ด้วยเป็นที่ชื่นชอบของคนทุกภาค รวมไปถึงชาวต่างชาติที่มีโอกาสได้ลิ้มรสปาปาย่าสลัดหรือปาปาย่าป๊อก ๆ
        ผลดิบหรือผลห่ามยังนิยมนำไปทำแกงส้มปลาช่อนหรือแกงส้มกุ้งแกงเหลือง  ผัดกับไข่ ทำต้มจืด หรือนำไปดอง  ยางจากผลใช้สำหรับทำให้เนื้อเปื่อยเร็วจะใช้แบบสด ๆ หรือไปซื้อแบบผงที่ขายกันตามท้องตลาดที่เรียกว่าผงเปื่อยก็ได้  ซึ่งยางจากผลมะละกอแก่จะทำให้เนื้อนุ่มกว่าน้ำสับปะรดถึง  20 เท่า ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับใช้หมักเนื้อคือ 12 หยดต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม เพราถ้าหากใช้มากไปจะทำให้เนื้อเกิดรสขมและมีกลิ่นยางมะละกอแถมไปด้วย ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง   โดยในผลสีแดงจะมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าพันธุ์สีเหลืองใช้ทำแยม ทำเครื่องดื่มและน้ำหวาน

ลักษณะทั่วไป

   
มะละกอเป็นไม้เนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ มียางสีขาว ไม่มีแก่น วงศ์ CARICACEAE สูง 3 – 6 เมตร ใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๆ ออกที่บริเวณยอดลำต้น ดอกตัวผู้และดอกตวเมียอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อห้อยหัวลงมา ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกหรือออกดอกเดี่ยว ผลมีหลายลักษณะตามพันธุ์ที่ปลูก เช่น กลม ยาวรี ทรงกระบอก เมื่อยังอ่อนเปลือกนอกสีเขียว เนื้อในสีขาวแล้วค่อยๆ  เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือแดงเมื่อสุก ภายในมีเมล็ดสีดำมีเยื่อหุ้ม
    มะละกอขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  โดยก่อนเพาะควรล้างและแกะเยื่อหุ้มออกก่อน ชอบดินที่มีระบายน้ำดีไม่ชอบน้ำท่วมขัง  เพราะรากจะเน่าง่ายแต่ต้องการน้ำมากและแสงแดดจัด

คุณค่าทางโภชนาการ
ผลดิบ 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
20
4.2
0.6
0.1
2.6
3.0
1.0
0.3
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




0.03
0.1
0.2
19.0





ผลสุก 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
51
11.3
0.8
0.3
1.3
9.46
8.39
0.28
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




173.84
0.03
0.3
35






27 สิงหาคม, 2009

ประโยชน์ของมะละกอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์จากมะละกอ (Papaya)

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง
“มะละกอ” ผลไม้ใช้เป็นยา
   
ในผลดิบมีเอนไซม์หรือน้ำย่อยหลายชนิด ที่สำคัญคือปาเปน (papane) มีคุณสมบัติที่ร่างกายผลิตขึ้นสำหรับย่อยอาหารประเภทโปรตีนและอาหารประเภทแป้ง และยังมีเพ็คติน (pectin) หรือกากอาหารสูง  การรับประทานมะละกอดิบจึงมีผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทว่าในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากนัก  เนื่องจากพบว่าในเนื้อมะละกอดิบจะช่วยขับประจำเดือนและทำให้คลอดง่าย  สตรีที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ  หากทานมากไปอาจทำให้แท้งได้
    ยางจากผลดิบใช้ขับพยาธิตัวกลม ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาและหูด
    ผลสุกจะมีสารอาหารและวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้ยังมีเพ็คติน (pectin) ที่จะช่วยรักษาอาการท้องผูกและท้องเสียในคราวเดียวกัน สำหรับรักษาอาการท้องเสียสารเมื่อกลิ่นของเพ็คตินจะช่วยให้อุจจาระแข็งตัวแทนที่จะถ่ายเหลวออกมา และสำหรับอาการท้องผูกเพ็คตินจะช่วยเพิ่มกากอาหารดูดซับน้ำในลำไส้แล้วพองตัวกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายออกมาได้ง่าย

ตำรับยาใช้ภายนอก1. รักษาแผลเรื้อรัง
ส่วนที่ใช้     ผลแก่ดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่โดยใช้เอาเนื้อมะละกอไปทาที่ซอกหุหรือข้อพับแขน หากมีผื่นขึ้นหรือรู้สึกแสบร้อนไม่ควรใช้ยาขนานนี้
วิธีใช้        นำผลมะละกอลแก่สดไปปอดเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด สับให้เป็นเส้นเล็ก ๆ นำไปบดหรือตำให้ละเอียด นำไปพอกบริเวณแผล ปิดทับด้วยผ้า สะอาดเปลี่ยยาวันละ 3 ครั้ง เช้า –กลางวัน – เย็น จนกว่าแผลจะหาย

2. ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาย และหูด
ส่วนที่ใช้     ยางจากผลดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอ หรือไม
วิธีใช้        ใช้ยางจากผลดิบทาบริเวณตาปลาหรือหัวหูดจนกว่าจะหาย

3. แก้พิษตะขามหรือแมลงป่อง
ส่วนที่ใช้     ผลดิบแก่สด
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่
วิธีใช้        ผ่านเนื้อมะละกอดิบเป็นแผ่นบาง ๆ ให้มียางซึมออกมา แล้วนำไปวางบริเวณที่ถูกต่อย

ตำรับยาใช้ภายใน

1. ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก และท้องเสีย

ส่วนที่ใช้     ผลสุก
        ****หากรับประทานมากประจำติดต่อกันนานจะทำให้เป็นโรคทีนีเนีย (โรคผิวสีเหลือง)  เพรานะมะละกอสุกจะมีสารแคโรทีนอยอยู่ในปริมาณมาก
วิธีใช้        รับประทานผลสุกเมื่อมีอาการ

2. ขับพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

ส่วนที่ใช้     ยางและเมล็ด จากมะละกอแก่ดิบ
วิธีใช้        - ใช้ยางจากผลมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไข่ 1 ฟอง ทอดให้เด็กทานให้หมดตอนเช้าขณะท้องว่าง
        -  ใช้น้ำยางสด 1 ช้อนโต๊ะ  น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำร้อน 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ให้รับประทานครั้งเดียวหมด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 10 ขวบ ในเด็กอายุระหว่าง 7 – 10 ขวบ  ให้ลดย่างมะละกอเหลือครึ่งหนึ่ง  หลังจากทานยานี้  2  ชั่วโมงให้ทานน้ำมันละหุ่ง 2 – 3 ช้อนชา กระตุ้นให้ขับถ่ายออกมา ควรทานยานี้ติดต่อกัน 2 วัน
        - ใช้เมล็ดมะละกอสดหรือ ที่แห้งใหม่ๆ 1 – 1.5 ช้อนกาแฟ คั่วไฟพอให้บดได้ง่าย บดแล้วผสมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมพอหวาน
ทานติดต่อกัน 2 – 3 วัน

ประวัติความเป็นมาของกล้วย


ประวัติความเป็นมาของกล้วย
น่ารัก
ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์


ประวัติความเป็นมาของกล้วย

ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์


ความเป็นมาของกล้วย
 
หนักจังรักที่สุด


ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์

การใช้ประโยชน์ในการบริโภค

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ(Papaya

มะละกอ(Papaya)มะละกอ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ


โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

  1. การใ้ห้ปุ๋ย
    - ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
    - ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
  4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว
มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ


โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

  1. การใ้ห้ปุ๋ย
    - ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
    - ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
  4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว

มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม

ประโยชน์ของกล้วย

ถ้าต้องการให้ระดับพลังงานที่หย่อนยานลงให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็วไม่มีอาหารว่างใดดี
ไปกว่ากล้วย เนื่องจากอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร
กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอกับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่กล้วยเป็นผลไม้อันดับหนึ่งของนักกีฬาชั้นนำระดับโลก ไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้นยังช่วยเอาชนะและป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค จึงควรรับประทานทุกวัน
1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด
และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุดแต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกายินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้ พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
3. กำลังสมอง นักเรียน 200 คน ที่โรงเรียน Twickenham ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปีนี้
ด้วยการรับประทานกล้วยในมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วย
ส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา
จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น
4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ
และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจเร็วๆ นี้ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า try
potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น serotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น
ตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง
6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง
กล้วยจะทำให้ กระเพาะของ เราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วยปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญาเกี่ยวกับอาการเสียดท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้
8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้
10. ระบบระสาท ในกล้วยมีวิตามินบีสูงมาก ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้ โรคน้ำหนักเกินและโรคที่ เกิดในที่ ทำงานจากการศึกษาของสถาบันจิตวิทยาในออสเตรียค้นพบว่าความกดดันในที่ทำงานเป็นเหตุนำไปสู่ การกินอย่างจุบจิบ เช่นอาหารพวกช็อคโกแล็ต และอาหารประเภททอดกรอบต่างๆ ในจำนวนคนไข้ 5,000 คน ในโรงพยาบายต่าง ๆ
นักวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเกินไป และส่วนใหญ่ทำงานภายใต้ความกดดันสูงมาก
จากรายงานสรุปว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกและนำไปสู่การกินอาหารอย่างบ้าคลั่ง
เราจึงต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบโฮเดรตสูง เช่น กินกล้วย ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องยา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วย สารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ได้
11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และ กระเพาะอาหารด้วย
12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทกรกที่เกิดมาจะมีอุณหภูมิเย็น
13. ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว กล้วยสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และความสับสนได้ เพราะในกล้วยมีสารตามธรรมชาติ try potophan ทำให้อารมณ์ดี
14. การสูบบุหรี่ กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี 6 และบี 12 ที่สูงมาก และยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียม ที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็วอันเป็นผลจากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง
15. ความเครียด โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ
การส่งออกซิเจนไปยังสมอง และปรับระดับน้ำในร่างกาย เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา
metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูง และทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลงแต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิดความสมดุล
16. เส้นเลือดฝอยแตก จากการวิจัยที่ลงในวารสาร "The New England Journal of Medicine" การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%
17. โรคหูด การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติ โดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิด ลงไปบนหูดแล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก จะสามารถรักษาโรคหูดให้ หายได้
เห็นหรือไม่ว่า กล้วยรักษาโรคต่างๆ อย่างธรรมชาติได้มากมาย ท่านควรลองพิสูจน์ด้วยตัวเองบ้าง ว่าจะได้ผลตามที่กล่าวหรือไม่ และเมื่อเปรียบเทียบแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยมี โปรตีนมากกว่าแอปเปิ้ล 4 เท่า มีคาร์โบรไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามินเอ และธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามินรวมทั้งแร่ธาตุอื่นมากกว่าอีก 2 เท่า และกล้วยยังอุดมด้วยโปรแตสเซียม กล้วยจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุด ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่เคยกินแอปเปิ้ลวันละผลทุกวันไม่ต้องไปหาหมอ หันมาคุ้นเคยกับคำว่า "กินกล้วยวันละผล ก็ไม่ต้องไปหาหมอ" นอกจากนี้มีคนที่เคยเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า และน่อง แนะนำให้กินกล้วยทุกวัน ตั้งแต่นั้นมาไม่เป็นตะคริวอีกเลย
(มาจากวารสารสารอโศก อันดับ 261 มิถุนายน 2546 ISSN 0857-7585)

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่อง กล้วย

สบู่กล้วยหอม

  สบู่กล้วยหอม 
มิถุนายน 29, 2010
สบู่กล้วยหอม เป็นสบู่ก้อนอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กล้วยหอมและน้ำผึ้งเป็นส่วนผสมในเนื้อสบู่
    สบู่กล้วยหอม 

ภาพจาก  www.siambig.com/shop/index.php%3…Thailand
        จากการที่ได้นำเสนอสบู่ทำมือหรือสบู่สมุนไพรมาแล้ว เห็นว่าหลายคนให้ความสนใจอยากทำอีกประกอบกับสบู่ทำมือมีวิธีการททำที่ได้ง่ายไม่สลับซับซ้อนอะไรมากมายนัก  เพียงแค่นำเนื้อสบู่มาตั้งไฟให้เหลว แล้วนำสมุนไพรที่เหมาะสมกับสภาพผิวของผู้ใช้ มาผสมลงในเนื้อสบู่ หลังจากนั้นก็นำไปเทใส่พิมพ์เพื่อให้สบู่มีรูปทรงตามแม่พิมพ์ จะเห็นว่าขั้นตอนการทำไม่ยากเลย
       
ในคราวนี้ขอนำเสนอสบู่กล้วยหอม เพราะเห็นว่ากล่วยหอมหาง่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศและมีทุกฤดูกาล ส่วนคุณสมบัติของกล้วยในการนำมาทำสบู่นั้นกล้วยหอมมีสารในการช่วยบำรุงผิว   ทำให้ผิวขาวใส ดูอ่อนกว่าวัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
อุปกรณ์  1.  เนื้อสบู่            1  กิโลกรัม
 2.  น้ำธรรมดา       2  ขีด
 3.  น้ำหอม   1/2  ออนต์
 4.  กล้วยหอม  2  ผล
 5.  น้ำผึ้ง  4  ช้อนโต๊ะ
 6.  หม้อและเตาสำหรับต้มสบู่
 7.  พิมพ์รูปแบบต่างๆ  ใช้พิมพ์ทำขนมก็ได้
 วิธีทำ
          ขั้นตอนการเตรียมกล้วยหอม  
               1.  ปอกเปลือกกล้วยหอมเอาเฉพาะเนื้อกล้วย บี้หรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำ  1  ขีด

ภาพจาก  www.rakbankerd.com/agriculture/o…tblplant
               2.  ใส่น้ำผึ้งลงไป  4  ช้อนโต๊ะ และขยำจนได้เนื้อครีมข้น

ภาพจาก www.healthcorners.com/2007/artic…page%3D8
               3.  นำส่วนผสมที่ได้กรอกเอากากทิ้ง

        ขั้นตอนการทำสบู่
            1.  นำเนื้อสบู่ที่เป็นแผ่นฝอยๆเล็กๆ  (อาจใช้เนื้อสบู่ที่เป็นแท่งมาขูดกับที่ขูดมะละกอหรือจะใช้มีดหั่นก็ได้)
      จำนวน  1  กิโลกรัม
            2.  ใส่น้ำสะอาดลงไป   1  ขีด
            3.  ใส่กล้วยหอมที่เตรียมไว้ลงไปสัก  3- 4   ช้อนโต๊ะ หรือมากกว่านี้ได้ตามชอบ
            4.  คนให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี ให้เหลวประมาณครีมทาตัวทั่วไป
            5.  เอาส่วนผสมใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆกวนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ปิดไฟ ยกลงจากเตา
            6.  ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ตามชอบ จะใช้น้ำมันมะกอกทาพิมพ์นิดหน่อยก็ได้จะได้แคะสบู่ออกง่าย
            7.  พักสบู่ที่ได้ให้เนื้อสบู่แข็งตัว แคะออกจากพิมพ์
            8. จะได้สบู่กล้วยหอมตามต้องการ
ข้อเสนอแนะ
        1.  ถ้าต้องการเก็บสบู่มะขามเปียกนมสดไว้ใช้นานควรใส่สารกันราลงไปในเนื้อสบู่ด้วย
        2.  ผู้ผลิตอาจใช้พิมพ์หรือภาชนะเป็นแม่พิมพ์ที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการดึงดูดใจให้อยากซื้อ
ข้อควรระวัง        1. ไม่ควรเก็บสบู่ในที่ชื้นเพราะจะทำให้สบู่เปื่อยง่าย
        2. ไม่ควรเก็บสบู่กล้วยหอมให้โดนแดดเพราะจะทำให้สบู่เสื่อมคุณภาพได้
   
ประโยชน์ของการทำสบู่กล้วยหอม         1.  ใช้ทำความสะอาดหน้า บำรุงผิวหน้าขาวเนียน ลดรอยฝ้าจุดด่างดำ
         2.  เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม
         3.  ส่งเสริมการนำสมุนไพรหรือวัสถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

โครงงานจากกล้วย

กล้วยเป็นพืชที่ สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ และกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดังนั้น จะเห็นกล้วยมีปลูกอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย การนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลผลิตจึงมีให้เห็นกันทั่วไปตามท้องตลาด และใครจะเชื่อว่า กาบกล้วยที่เรามองดูไร้ค่า เมื่อนำมาแปรรูปเป็นภาชนะสามารถเป็นสินค้าส่งออกระดับประเทศได้

โคมไฟทำจากกาบกล้วย
กล้วยเป็นพืชที่ สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ และกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดังนั้น จะเห็นกล้วยมีปลูกอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย การนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลผลิตจึงมีให้เห็นกันทั่วไปตามท้องตลาด และใครจะเชื่อว่า กาบกล้วยที่เรามองดูไร้ค่า เมื่อนำมาแปรรูปเป็นภาชนะสามารถเป็นสินค้าส่งออกระดับประเทศได้



han-dmade-4 han-dmade-3
และที่เรากำลังจะพูดถึงในครั้งนี้ คือ ผลงานการออกแบบภาชนะของแต่งบ้านจากกาบกล้วยของ “นางสาวปิยะนุช ชัยธีระยานนท์” ภายใต้แบรนด์ C-SENSE ซึ่งเป็นการนำแนวคิดของการทำงานเปเปอร์มาเช่มาใช้ และตกแต่งภายนอกด้วยการติดกาบกล้วยทับลงไป ความแข็งแรงจึงเทียบเท่าได้กับงานเปเปอร์มาเช่ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ
สินค้าแบบแรกเริ่มทำผลิตภัณฑ์กาบกล้วย
นางสาวปิยะนุช เล่าว่า จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้านจากกาบกล้วย มาจากแต่เดิมทางโรงงานของผลิตสินค้าประเภทเซรามิกแนวดีไซน์ และต้องการของตกแต่งที่เป็นถาดมาใส่ชุดถ้วยกาแฟดูเป็นธรรมชาติ และเนื่องจากบ้านอยู่ที่จังหวัดพะเยาว์ มีกล้วยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ทดลองทำถาดที่ทำจากกาบกล้วย ด้วยเทคนิคการทำเปเปอร์มาเช่ ซึ่งในปีแรกที่มีการทำถาดกาบกล้วยใส่ถ้วยกาแฟ มาวางโชว์ในงานแสดงสินค้าเพื่อการส่งออก ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าต่างประเทศ
ดัง นั้น ในงานแสดงสินค้า BANGKOK INTERNATIONAL GIFT FAIR 2008 AND BANGKOK INTERNATIONAL HOUSEWARE FAIR 2008 จึงได้นำผลิตภัณฑ์กาบกล้วย C-SENSE ออกมาจำหน่ายเป็นปีที่แรก ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดีมาก มีออร์เดอร์เข้ามามากในระดับที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งมาจากความแปลกใหม่ และเทรนด์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในการรณรงค์ลดโลกร้อนที่มาแรงในช่วงที่ผ่าน มา สินค้าของเราก็ตรงคอนเซ็ปต์ดังกล่าว ส่งผลให้ยอดการสั่งซื้ออยู่ในระดับที่น่าพอใจ


han-dmade-2 han-dmade-1
นางสาวปิยะนุช ชัยธีระยานนท์ เจ้าของผลิตภัณฑ์
ในช่วงหลังงานเซรามิกของเราจะผลิตน้อยลง เพราะมีคู่แข่งในตลาดหลายราย เนื่องจากเราเป็นงานฝีมือที่มีดีไซน์ ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ได้ จึงหันมาผลิตงานกาบกล้วยอย่างเต็มตัว เพราะไม่ต้องแข่งขันกับใคร และเป็นงานที่มาจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ง่าย ซึ่งต้นทุนไม่สูง ในส่วนของโรงงานเราก็มีแรงงานฝีมือที่สามารถทำลักษณะนี้ได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนจากการทำงานเซรามิกมาทำงานเปเปอร์มาเช่ ที่ต้องใช้ทักษะการปั้นขึ้นรูปที่ละชิ้นเหมือนกัน
เนื่องจากเป็นสินค้าทำมือ จึงไม่สามารถรับออร์เดอร์ครั้งละมากในเวลาที่จำกัดได้ ทำให้ต้องยกเลิกออร์เดอร์หลายๆ รายไป ซึ่งต่อมาลูกค้าค่อนข้างเข้าใจว่า เป็นงานทำมือ ลูกค้าจะให้เวลาในระดับที่เราสามารถรับได้ ทำให้เราแก้ปัญหาเรื่องเวลาในการทำงานกับการรับออร์เดอร์จำนวนมากได้ ส่วนหนึ่งที่ได้ออร์เดอร์ค่อนข้างเยอะ และยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นเพราะสินค้าของเราราคาไม่แพง ราคาเริ่มต้นแค่ 50 บาท ราคาเฉลี่ยหลักร้อยบาท
ภาชนะที่ออกแบบจากกาบกล้วย
“แม้ว่าสินค้าของเราจะราคาไม่แพง แต่เราก็ให้ความสำคัญเรื่องของงานดีไซน์ โดยมีแบบให้ลูกค้าได้เลือกหลายสิบแบบ และในแต่ละปีจะมีแบบใหม่มาให้ลูกค้าได้เลือกตลอดทั้งของแต่งบ้าน และภาชนะ และในปีนี้ มีดีไซน์ใหม่ เป็นการนำทองคำเปลวมาติดลงบนภาชนะ จะเลือกใช้ทองคำเปลวเทียม เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาที่ไม่แพง”
รูปแบบงานของ C-SENSE ประกอบด้วย ภาชนะในรูปทรงต่างๆ ลูกค้านำไปใช้ในงานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัญหาคือ งานเปเปอร์มาเช่ไม่สามารถแช่น้ำหรือ นำไปล้างได้ แต่โดนน้ำได้ นอกจากภาชนะใส่ของ ยังมีโคมไฟ สีของแสงไฟเมื่อกระทบกับสีของกาบกล้วยจะได้แสงไฟที่สบายตา สร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การพักผ่อน โดยเฉพาะเมื่อแสงกระทบกับสีเหลืองของทองคำเปลว ยิ่งทำให้ได้แสงไฟจากโคมไฟดูสวยงาม
ในส่วนของขั้นตอนการผลิต แม้ว่าจะเป็นงานเปเปอร์มาเช่ แต่ก็แตกต่างจากเปเปอร์มาเช่ที่ทำกันทั่วไป เพราะของเราเลือกใช้เส้นใยกระดาษที่ผลิตจากกาบกล้วย และนำกาบกล้วยที่ตากแห้งเพื่อให้ได้กาบกล้วยสีนวลตามธรรมชาติ และนำติดทับบนงานเปอร์มาเช่ ซึ่งติดโชว์ส่วนที่เห็นเทคเจอร์ลายของกาบกล้วย โดยเลือกใช้กล้วยป่า เพราะจะให้สีเข้ม และเหนียวกว่ากล้วยที่ปลูกกันทั่วไป
โดยชาวบ้านจะเข้าไปตัดกล้วยป่ามาส่งให้ ปัจจุบันกล้วยป่าเริ่มหายากขึ้นได้มีการปลูกขึ้นมาในพื้นที่ทั่วไปใกล้โรง งานในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปก็สามารถตัดกล้วยจากพื้นที่ที่เราปลูกมาใช้ได้ แทนการเข้าไปตัดกล้วยป่า ยิ่งทำให้เราประหยัดต้นทุนเรื่องวัตถุดิบลงไปได้อีก ส่วนของสี ที่ผ่านมาไม่ได้มีการย้อมสี เนื่องจากลูกค้าชื่นชอบสีที่เป็นธรรมชาติ
กลุ่มลูกค้าเป็นการส่งออก 100% โดยได้ลูกค้ากลุ่มยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย บางประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ส่วนลูกค้าคนไทยอาจจะมองไม่เห็นคุณค่า เพราะเป็นกาบกล้วยธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นกันทั่วไป ไม่ได้มีราคาอะไร
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์